कुम्भ मेला ( กุมภเมลา )

กุมภเมลา เป็นกิจกรรมการแสวงบุญและเทศกาลสำคัญในศาสนาฮินดู มีการเฉลิมฉลองเป็นวัฏจักรที่กินเวลารอบละราว 12 ปี ที่สถานที่แสวงบุญริมแม่น้ำสี่แห่ง ได้แก่ ปรยาค-อลาหาบาด (จุดที่แม่น้ำคงคา-ยมุนา สรัสวตีไหลมาบรรจบกัน), หฤทวาร (แม่น้ำคงคา), นาศิก (แม่ร้ำโคทาวรี), และ อุชไชน์ (แม่น้ำศีปร) เทศกาลนี้และกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ ผู้เข้าร่วมกุมภเมลาเชื่อกันว่าการได้ลงอาบน้ำในแม่น้ำเหล่านี้เป็นการกระทำเพื่อปรายัศจิตตะ (ชดเชย) ให้กับความผิดพลาดในอดีต และช่วยชำระล้างบาป

เทศกาลนี้ในแง่ธรรมเนียมักยึดโยงนักปราชญ์และสันตะฮินดูจากศตวรรษที่แปด อาทิศังกระ ผู้ซึ่งผลักดันให้กุมภเมลาเป็นเทศกาลและโอกาสหนึ่งที่จะมีการรวมตัวกันของชาวฮินดูครั้งใหญ่เพื่อให้เกิดบทสนทนาทางปรัชญาและการถกเถียงระหว่างอาศรมฮินดูต่าง ๆ ทั่วอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่กล่าวถึงกุมภเมลาก่อนศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ตาม ปรากฏหลักฐานที่เพียงพอในแง่ของเอกสารโบราณ และจารึก ที่มีการบันทึกเกี่ยวกับ มาฆเมลา ที่ซึ่งเป็นกิจกรรมการรวมตัวของชาวฮินดูขนาดใหญ่จัดขึ้นทุกหกหรือสิบสองปีและมีพิธีกรรมที่ให้ลงอาบน้ำในแม่น้ำหรือสระน้ำของโสถ์พราหมณ์