武则天 ( บูเช็กเทียน )

อู่ เจ๋อเทียน ตามสำเนียงกลาง หรือ บูเต็กเทียง ตามสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ บูเช็กเทียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ: 武则天; จีนตัวเต็ม: 武則天; พินอิน: Wǔ Zétiān; เวด-ไจลส์: Wu3 Tse2-t'ien1; 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 705) พระนามเดิมว่า อู่ จ้าว (จีน: 武曌; พินอิน: Wǔ Zhào; เวด-ไจลส์: Wu3 Chao4) ในราชวงศ์ถังมักออกพระนามว่า เทียนโฮ่ว (天后) และในสมัยต่อมาว่า อู่โฮ่ว (武后) ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์อู่โจว และทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานกว่าสี่พันปีที่ได้เป็นฮ่องเต้

ในแผ่นดินของพระราชสวามีและพระราชบุตรของพระนางระหว่างปี ค.ศ. 665 ถึง 690 พระนางทรงปกครองจีนโดยพฤตินัย ต่อมาในปี ค.ศ. 690 ถึง 705 พระนางทรงสถาปนาราชวงศ์ของพระนางเอง คือ ราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว และเฉลิมพระนามพระนางเองว่า เชิ่งเฉินหวงตี้ (聖神皇帝) อันเป็นการละเมิดประเพณีแต่โบราณและยังทำให้ราชวงศ์ถังสะดุดหยุดลงระยะหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ผู้นิยมลัทธิขงจื๊อจึงประณามพระนางเป็นอย่างมาก

อู่ เจ๋อเทียน ทรงมีตำแหน่งสำคัญทั้งในสมัยถังไท่จง จักรพรรดิพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ถัง และในสมัยถังเกาจง จักรพรรดิพระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ถัง โดยแรกเริ่มทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสนมของถังไท่จง เมื่อถังไท่จงสวรรคต พระนางจึงได้อภิเษกสมรสกับถังเกาจงในปี ค.ศ. 655 และได้รับการขนานพระนามว่า เกาจงฟูเหริน (高宗夫人)

ในปี ค.ศ. 690 หลังจากถังเกาจงสวรรคต ก็เกิดการแย่งชิงราชสมบัติเป็นเวลากว่า 7 ปี ในที่สุดพระนางได้ทรงตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้หญิงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน รวมถึงประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์อู่โจวตั้งแต่นั้นมา จนสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 705

ในช่วงที่อู่ เจ๋อเทียน ทรงเป็นผู้นำทั้งด้านการปกครองและการทหาร มีการขยายอำนาจของจีนออกไปเป็นอันมากเกินกว่าอาณาเขตดินแดนเดิมที่เคยมีมา ไปถึงบริเวณทวีปเอเชียกลาง รวมถึงการครอบครองพื้นที่แถบคาบสมุทรเกาหลีเหนือตอนบน ส่วนภายในประเทศจีนเอง แม้จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของพระนางทั้งในการสู้รบ ปราบปรามกบฏ และลงโทษประหารชีวิต แต่พระนางได้ทรงพัฒนาประเทศโดยการส่งเสริมและเผยแพร่ระบบการสอบจอหงวนเพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงชนชั้น ส่งเสริมและยกระดับบทบาทของสตรีเพศโดยเปิดโอกาสให้เข้ารับตำแหน่งราชการในระดับสูง นอกจากนี้พระนางยังให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนด้วยการลดภาษีอากรที่กดขี่ ส่งเสริมการเกษตรและการสร้างงาน ทำให้ประเทศจีนในยุคของพระนางมีความเข้มแข็งและพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

อู่ เจ๋อเทียน ทรงส่งเสริมและให้ความสำคัญแก่พระพุทธศาสนามากกว่าลัทธิเต๋าในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ จนจัดให้มีการสร้างวัดและปฏิมากรรมในถ้ำ เช่น ถ้ำผาหลงเหมิน กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดในประเทศจีนในช่วงยุคของพระนาง

อ่านต่อ

อู่ เจ๋อเทียน ตามสำเนียงกลาง หรือ บูเต็กเทียง ตามสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ บูเช็กเทียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ: 武则天; จีนตัวเต็ม: 武則天; พินอิน: Wǔ Zétiān; เวด-ไจลส์: Wu3 Tse2-t'ien1; 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 705) พระนามเดิมว่า อู่ จ้าว (จีน: 武曌; พินอิน: Wǔ Zhào; เวด-ไจลส์: Wu3 Chao4) ในราชวงศ์ถังมักออกพระนามว่า เทียนโฮ่ว (天后) และในสมัยต่อมาว่า อู่โฮ่ว (武后) ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์อู่โจว และทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานกว่าสี่พันปีที่ได้เป็นฮ่องเต้

ในแผ่นดินของพระราชสวามีและพระราชบุตรของพระนางระหว่างปี ค.ศ. 665 ถึง 690 พระนางทรงปกครองจีนโดยพฤตินัย ต่อมาในปี ค.ศ. 690 ถึง 705 พระนางทรงสถาปนาราชวงศ์ของพระนางเอง คือ ราชวงศ์โจว หรือในประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ราชวงศ์อู่โจว และเฉลิมพระนามพระนางเองว่า เชิ่งเฉินหวงตี้ (聖神皇帝) อันเป็นการละเมิดประเพณีแต่โบราณและยังทำให้ราชวงศ์ถังสะดุดหยุดลงระยะหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ผู้นิยมลัทธิขงจื๊อจึงประณามพระนางเป็นอย่างมาก

อู่ เจ๋อเทียน ทรงมีตำแหน่งสำคัญทั้งในสมัยถังไท่จง จักรพรรดิพระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ถัง และในสมัยถังเกาจง จักรพรรดิพระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ถัง โดยแรกเริ่มทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสนมของถังไท่จง เมื่อถังไท่จงสวรรคต พระนางจึงได้อภิเษกสมรสกับถังเกาจงในปี ค.ศ. 655 และได้รับการขนานพระนามว่า เกาจงฟูเหริน (高宗夫人)

ในปี ค.ศ. 690 หลังจากถังเกาจงสวรรคต ก็เกิดการแย่งชิงราชสมบัติเป็นเวลากว่า 7 ปี ในที่สุดพระนางได้ทรงตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้หญิงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน รวมถึงประกาศเปลี่ยนราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์อู่โจวตั้งแต่นั้นมา จนสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 705

ในช่วงที่อู่ เจ๋อเทียน ทรงเป็นผู้นำทั้งด้านการปกครองและการทหาร มีการขยายอำนาจของจีนออกไปเป็นอันมากเกินกว่าอาณาเขตดินแดนเดิมที่เคยมีมา ไปถึงบริเวณทวีปเอเชียกลาง รวมถึงการครอบครองพื้นที่แถบคาบสมุทรเกาหลีเหนือตอนบน ส่วนภายในประเทศจีนเอง แม้จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจของพระนางทั้งในการสู้รบ ปราบปรามกบฏ และลงโทษประหารชีวิต แต่พระนางได้ทรงพัฒนาประเทศโดยการส่งเสริมและเผยแพร่ระบบการสอบจอหงวนเพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการบริหารประเทศโดยไม่คำนึงถึงชนชั้น ส่งเสริมและยกระดับบทบาทของสตรีเพศโดยเปิดโอกาสให้เข้ารับตำแหน่งราชการในระดับสูง นอกจากนี้พระนางยังให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนด้วยการลดภาษีอากรที่กดขี่ ส่งเสริมการเกษตรและการสร้างงาน ทำให้ประเทศจีนในยุคของพระนางมีความเข้มแข็งและพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

อู่ เจ๋อเทียน ทรงส่งเสริมและให้ความสำคัญแก่พระพุทธศาสนามากกว่าลัทธิเต๋าในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ จนจัดให้มีการสร้างวัดและปฏิมากรรมในถ้ำ เช่น ถ้ำผาหลงเหมิน กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุดในประเทศจีนในช่วงยุคของพระนาง

นอกจากในฐานะผู้นำทางการเมือง อู่ เจ๋อเทียน ยังมีชีวิตครอบครัวที่โดดเด่น แม้ว่าในบางครั้งความสัมพันธ์ในครอบครัวจะเป็นปัญหาให้แก่พระนาง มีพระโอรส 3 พระองค์ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิ และพระนัดดาของพระนาง คือ ถังเสวียนจง จักรพรรดิหนึ่งในยุคทองแห่งประวัติศาสตร์จีน