ศาสนาฮินดู

Paco Pater - CC BY-SA 4.0 Manfred Werner (talk · contribs) - CC BY-SA 3.0 Arupparia - CC BY-SA 4.0 TeshTesh - CC BY-SA 4.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 R.K.Lakshmi - CC BY-SA 4.0 Photo Dharma from Sadao, Thailand - CC BY 2.0 Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 http://en.wikipedia.org/wiki/User_talk:Vinayreddym - Public domain Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 Abrar Alam Khan - CC BY-SA 3.0 Rajesh Dhungana - CC BY-SA 4.0 Ragib Hasan - CC BY 2.5 Government of Odisha - CC BY 4.0 Gktambe at English Wikipedia - Public domain Abhishek Dutta (http://abhishekdutta.org), fix chromatic aberration by uploader - CC BY 3.0 Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 Govind Swamy - CC BY-SA 3.0 muhd rushdi samsudin from johor + terengganu, malaysia - CC BY-SA 2.0 Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 Pk Pratham ( Pratik Patel ) - CC BY-SA 4.0 Ascii002 - CC BY-SA 3.0 Shaq774 at en.wikipedia - Public domain Rishabh gaur - CC BY-SA 4.0 Teseum - CC BY-SA 4.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 SUDEEP PRAMANIK - CC BY-SA 4.0 Pk Pratham ( Pratik Patel ) - CC BY-SA 4.0 No machine-readable author provided. Airunp assumed (based on copyright claims). - CC BY-SA 2.5 Sujay25 - CC BY-SA 4.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 Pk Pratham ( Pratik Patel ) - CC BY-SA 4.0 Vsundar at English Wikipedia - CC BY-SA 3.0 Jakub Hałun - CC BY-SA 4.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 No machine-readable author provided. Mattes assumed (based on copyright claims). - CC BY-SA 2.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 Amartyabag - CC BY-SA 3.0 TeshTesh - CC BY-SA 4.0 9to5iOS - CC BY-SA 4.0 Abhishek Dutta (http://abhishekdutta.org), fix chromatic aberration by uploader - CC BY 3.0 Abhishek Dutta (http://abhishekdutta.org), fix chromatic aberration by uploader - CC BY 3.0 Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 http://en.wikipedia.org/wiki/User_talk:Vinayreddym - Public domain Abrar Alam Khan - CC BY-SA 3.0 Deepak Kumar Nayak (Cuttack) - CC BY-SA 4.0 The original uploader was Nikkul at English Wikipedia. - CC BY-SA 2.0 Lincon Mishra - CC BY-SA 3.0 Gktambe at English Wikipedia - Public domain Prasanthajantha - CC BY-SA 4.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 MajaK. - CC BY 3.0 Pk Pratham ( Pratik Patel ) - CC BY-SA 4.0 Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 Richard Mortel - CC BY 2.0 Gktambe at English Wikipedia - Public domain Gktambe at English Wikipedia - Public domain Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 Lincon Mishra - CC BY-SA 3.0 Gaurhav H. Atri - CC BY-SA 2.0 Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 The original uploader was Nikkul at English Wikipedia. - CC BY-SA 2.0 Puja Rakshit - CC BY-SA 4.0 Puja Rakshit - CC BY-SA 4.0 Harshiyparik - CC BY-SA 4.0 No images

Context of ศาสนาฮินดู

ศาสนาฮินดู หรือในเอกสารภาษาไทยนิยมใช้คำว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาอินเดีย และเป็นธรรมะหรือแนวทางการใช้ชีวิตของผู้คน ที่เป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดียและบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบนเกาะบาหลี เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ศาสนิกชนและนักวิชาการบางกลุ่มเรียกศาสนาฮินดูว่าเป็น "สนาตนธรรม" หรือหนทางนิรันดร์ชั่วประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นักวิชาการมักมองศาสนาฮินดูว่าเป็นการผสมผสานของ หรือสังเคราะห์มาจาก วัฒนธรรม จารีต และประเพณีอันหลากหลายในอนุทวีปอินเดีย ที่มีรากฐานหลากหลาย และไม่มีศาสดาหรือผู้ริเริ่มตั้งศาสนา แต่ผู้เผยแผ่คำภีร์พระเวท ยุคแรกเริ่มคือ ฤๅษีวยาส ท่านเปรียบเสมือนเป็นศาสดาคนหนึ่ง "การสังเคราะห์ศาสนาฮินดู" (Hindu synthesis) นี้เริ่มมีขึ้นระหว่างราว 500 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 300 ภายหลังการสิ้นสุดลงของยุคพระเวท (1500 ถึง 500 ก่อนคริสตกาล), และเจริญรุ่งเรืองในอินเดียสมัยกลางไปพร้อมกับการเสื่อมของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย

ถึงแม้ว่าศาสนาฮินดูจะเต็มไปด้วยปรัชญาหลายแขนง แต่ก็สามารถเชื่อ...อ่านต่อ

ศาสนาฮินดู หรือในเอกสารภาษาไทยนิยมใช้คำว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาอินเดีย และเป็นธรรมะหรือแนวทางการใช้ชีวิตของผู้คน ที่เป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดียและบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบนเกาะบาหลี เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ศาสนิกชนและนักวิชาการบางกลุ่มเรียกศาสนาฮินดูว่าเป็น "สนาตนธรรม" หรือหนทางนิรันดร์ชั่วประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นักวิชาการมักมองศาสนาฮินดูว่าเป็นการผสมผสานของ หรือสังเคราะห์มาจาก วัฒนธรรม จารีต และประเพณีอันหลากหลายในอนุทวีปอินเดีย ที่มีรากฐานหลากหลาย และไม่มีศาสดาหรือผู้ริเริ่มตั้งศาสนา แต่ผู้เผยแผ่คำภีร์พระเวท ยุคแรกเริ่มคือ ฤๅษีวยาส ท่านเปรียบเสมือนเป็นศาสดาคนหนึ่ง "การสังเคราะห์ศาสนาฮินดู" (Hindu synthesis) นี้เริ่มมีขึ้นระหว่างราว 500 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 300 ภายหลังการสิ้นสุดลงของยุคพระเวท (1500 ถึง 500 ก่อนคริสตกาล), และเจริญรุ่งเรืองในอินเดียสมัยกลางไปพร้อมกับการเสื่อมของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย

ถึงแม้ว่าศาสนาฮินดูจะเต็มไปด้วยปรัชญาหลายแขนง แต่ก็สามารถเชื่อมโยงถึงกันผ่านแนวคิดที่มีร่วมกัน, พิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน, จักรวาลวิทยาฮินดู, คัมภีร์ฮินดู และ สถานที่แสวงบุญ ส่วนคัมภีร์ของศาสนาฮินดูนั้นจำแนกออกเป็น ศรุติ (จากการฟัง) และ สมรติ (จากการจำ) คัมภีร์เหล่านี้มีทั้งปรัชญาฮินดู, ประมวลเรื่องปรัมปราฮินดู, พระเวท, โยคะ, พิธีกรรม, อาคม และการสร้างโบสถ์พราหมณ์ เป็นต้น คัมภีร์เล่มสำคัญได้แก่ พระเวท, อุปนิษัท, ภควัทคีตา, รามายณะ และ อาคม ที่มา ผู้ประพันธ์ และความจริงนิรันดร์ในคัมภีร์เหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญ แต่ศาสนาฮินดูก็มีแนวคิดหลักสำคัญที่สนับสนุนการตั้งคำถามต่อที่มาและเนื้อความของคัมภีร์เพื่อให้เข้าใจสัจธรรมต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง และสร้างประเพณีหรือแนวคิดต่อยอดในอนาคต

สาระสำคัญในศาสนาฮินดูคือ "ปุรุษารถะ" ทั้งสี่ อันเป็นจุดมุ่งหมายอันสมควรในชีวิตของมุนษย์ ได้แก่ ธรรมะ (หน้าที่/จริยธรรม), อรรถะ (การเจริญเติบโต/หน้าที่การงาน), กามะ (ประสงค์/แรงจูงใจ) และ โมกษะ (การหลุดพ้น/การเป็นอิสระจากการเวียนว่ายตายเกิด) นอกจากนี้ แนวคิดสำคัญอื่น ๆ ที่พบในศาสนาฮินดูยังรวมถึง กรรม (การกระทำ/ผลของการกระทำ), สังสารวัฏ (วงจรเวียนว่ายตายเกิด) และ การปฏิบัติโยคะ (หนทางสู่โมกษะ) ที่มีอยู่หลากหลายปรัชญา การปฏิบัติในศาสนาฮินดู มีทั้ง ปูชา (การบูชา), การสวดมนต์และร้องเพลงสวด, ชปะ, การปฏิบัติสมาธิ, สังสการ (พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน), เทศกาลประจำปีและการออกเดินทางแสวงบุญตามโอกาส ศาสนิกชนบางส่วนละทิ้งชีวิตทางโลกและการยึดติดกับวัตถุ เพื่ออกสู่สันยาสะ (ถือพรต/ออกบวช) เพื่อเข้าสู่โมกษะ ศาสนาฮินดูยังเน้นย้ำถึงหน้าที่ตลอดกาล เช่น ความกตัญญู ซื่อสัตย์, ไม่ทำร้ายสัตว์และผู้คน (อหิงสา), การใจเย็น, ความอดทนอดกลั้น, การข่มใจตนเอง และความเมตตา นิกายในศาสนาฮินดูหลักมี 4 นิกาย คือ ลัทธิไวษณพ, ลัทธิไศวะ, ลัทธิศักติ และลัทธิสมารตะ

ศาสนาฮินดูถือเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 3 มีศาสนิกชนซึ่งเรียกว่า ชาวฮินดู อยู่ราว 1.15 พันล้านคน หรือ 15-16% ของประชากรโลก ศาสนาฮินดูมีผู้นับถือมากที่สุดในอินเดีย, เนปาล และ มอริเชียส นอกจากนี้ยังเป็นศาสนาหลักในจังหวัดบาหลี อินโดนีเซียเช่นกัน ชุมชนฮินดูขนาดใหญ่ยังพบได้ในแคริบเบียน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกา และประเทศอื่น ๆ

More about ศาสนาฮินดู

Where can you sleep near ศาสนาฮินดู ?

Booking.com
491.359 visits in total, 9.210 Points of interest, 405 Destinations, 29 visits today.